ประวัติวัดสังข์กระจาย

ความเบื้องต้น

เรื่องราวของวัดสังข์กระจาย ที่กล่าวถึงมูลเหตุของการสร้างวัดนี้ เท่าที่พบในตำนานปรากฏไม่ค่อยละเอียดย่นย่อเกินไป เคราะห์ดีที่มีบันทึกเกี่ยวกับประวัติของวัดบางตอนของท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์ (วรรณ ป.3) อดีตเจ้าอาวาส ประกอบกับได้อาศัยคำชี้แจงของผู้สูงอายุบางท่านที่น่าเชื่อถือได้ มากลั่นกรองใคร่ครวญประกอบเป็นตำนานโดยยึดข้อเท็จจริงที่น่าจะเป็นหลัก ก็ทำให้รู้เรื่องราวได้พิสดารออกไปกว่าเดิม

ตามบันทึก ท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์เผยว่า ได้ฟังมาจากท่านเจ้าคุณพระสังฆวรานุวงศ์เถระ (เอี่ยม) พระอุปัชฌาย์ของท่านเองอีกต่อหนึ่ง ท่านบอกว่า ตำแหน่งที่วัดตั้งอยู่นี้แต่เดิมเป็นที่ลุ่มราบผู้เฒ่าผู้แก่ก่อน ๆ ท่านก็รับสมอ้างว่าจริง น่าจะเป็นด้วยอยู่ริมคลองน้ำขึ้นท่วมถึงได้ บริเวณก็รกร้างทึบ มีต้นไม้ขนาดคนสามคนโอบ เช่น ต้นไทร ต้นตะเคียน ต้นยาง ยืนต้นเคียงแข่งกันแลดูครึ้มทะมึนวังเวง ไม้เครือเถาต่าง ๆ ก็ขึ้นไต่ต้นไม้สูง ๆ ระโยงรยางค์ยั้วเยี้ยไม่ผิดกับป่าลึกดงร้าง นี่น่าจะเป็นมาตั้งแต่ครั้งที่ยังไม่ได้สร้างวัดเสียอีก ต้นไม้เหล่านี้ส่วนมากได้ตัดเสียครั้งท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์ (เอี่ยม) ในรัชกาลที่ 5 ในสมัยท่านเจ้าคุณวรรณก็ยังเป็นดงอยู่มาก แต่ละต้นสูงใหญ่เงื้อมฟ้าทั้งนั้น กล่าวกันว่า เคยมีนกแร้งมาอาศัยออกไข่ทำรัง ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยสูงเหมือนก่อน เพราะได้โค่นลงเสียมากต่อมากนัก

ในทำเนียบพระอารามหลวง แจ้งว่า ก่อนสร้างวัดขึ้นใหม่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดสังข์กระจายเป็นวัดโบราณมาก่อน เห็นจะราว ๆ ยุคปลายกรุงศรีอยุธยาคาบเกี่ยวกับยุคต้นกรุงธนบุรี ได้สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียงวัดนี้ และเคยพบเห็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าคุณวรรณ ชี้แจงให้ฟังน่าจะมีเค้าสมจริง เพราะได้เคยขุดพบลูกนิมิตหลายลูกฝังอยู่ทางด้านนอกกำแพงแถบเหนือพระอุโบสถ เดี๋ยวนี้อยู่ถัดหลังวัดวิหารออกมา แต่ก็คงจะเป็นวัดเล็ก ๆ ภายหลังที่บ้านเมืองอยู่ในยุคทมิฬติดพันด้วยศึกพม่า ไร้ผู้คนและพระสงฆ์จะอยู่จึงร้างโรยราไป ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวัดที่ไม่ใหญ่โตอะไร จึงไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้จับหลักฐานได้มากนัก อีกประการหนึ่งก็คงจะถูกถอนเสียในคราวเริ่มสร้างใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง

ตำนานของวัดสังข์กระจายมีหลักฐานทราบได้แน่นอน ก็ตกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเรื่องเล่ากันมาว่า

ในปลายสมัยกรุงธนบุรี มีสัปบุรุษผู้หนึ่ง เป็นสัมมาจารีบุคคล เคร่งครัดในการให้ทานบำเพ็ญกุศลและสดับธรรม สมาทานศีลอุโบสถอยู่เป็นนิจ เป็นสัปบุรุษที่มีจริยาวัตรน่าเลื่อมใสของวัดราชสิทธาราม สัปบุรุษผู้นี้เป็นข้าราชการตำแหน่งนายสารบบ (ในกรมพระสุรัสวดี) ชื่อนายสังข์ ตั้งบ้านเรือนอยู่บนฝั่งห่างจากปากคลองบางวัวทองลึกเข้าไปประมาณ 7 เส้นเศษ จำเนียรกาลมา นายสังข์ได้มีจิตศรัทธาดำริจะสร้างวัดขึ้นใหม่ในที่ดินแดนนี้ จึงได้ไปปรึกษากับนายพลับผู้ชอบพอคุ้นเคยกัน เพื่อขอไม้ซุงมาสักต้นหนึ่ง นายพลับเมื่อได้ทราบดังนี้ ก็อนุโมทนาพลอยยินดีด้วย และอนุญาตให้ซุงต้นหนึ่งตามความประสงค์

เมื่อตอนล่องซุงในคลองบางวัวทอง นายสังข์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า เดชะ ด้วยอำนาจบุญญปณิธาน หากซุงที่ข้าพเจ้าปล่อยให้กระแสน้ำพัดล่องไปตามลำคลองนี้ลอยไปติด ณ ที่ใด ข้าพเจ้าก็จักจัดการสร้างวัดขึ้นตรงนั้นซึ่งเป็นธรรมดาของคนโบราณย่อมถือในเรื่องอำนาจบุญดลบันดาลและเทพาบันดาลหนุน ด้วยอำนาจเสี่ยงสัตยาธิษฐานซุงก็ได้ลอยมาติดตรงหน้าวิหารปัจจุบันนี้เป็นอัศจรรย์ มีทำเลพอเหมาะพอดีควรแก่การสร้างวัดนัก นายสังข์จึงเลยตกลงสร้างวัดตรงนี้ แต่การสร้างวัดนั้นเป็นเรื่องใหญ่โต ต้องค่อยทำค่อยไปตามกำลังทรัพย์และเวลาจะเกื้อหนุนให้ หนแรกนายสังข์ได้คิดสร้างกุฏิวิปัสสนาขึ้นก่อน จึงได้เลื่อยซุงท่อนนั้นออกเป็นเครื่องบน กุฏิวิปัสสนานี้ ก่ออิฐถือปูนขาว กว้าง 2 วา ยาว 3 วา 1 คืบ สูง 2 วา 1 คืบ เท่านั้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ มีประตูหน้าต่างอย่างละหนึ่งบาน ซ้ำทำไว้เล็ก ๆ อีกด้วย ข้างในทำเป็นแท่นก่อปูนสำหรับนั่งนอนหรือใช้เป็นที่บำเพ็ญวิปัสสนาเหมาะเฉพาะเพียงคนเดียว

ต่อมาเจ้าจอมแว่น หรือที่เรียกขานกันว่าคุณเสือ เป็นชาวเมืองเวียงจันทร์ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ส่งข้าหลวงสนิทคนหนึ่งเป็นหญิงมดชื่อจ่ายให้ไปเฝ้าสวนของตนซึ่งมีเนื้อที่ติดกับที่ของนายสังข์ นางจ่ายคนนี้น่าจะมีอะไรแปลก ๆ เป็นแน่จึงเรียกกันว่าแม่มด และเจ้าจอมแว่นคงจะเห็นเหมาะที่จะเฝ้าสวนจึงได้ส่งมา ภายหลังไม่นานนางจ่ายกับนายสังข์มีความสนิทชอบพอกันมาก จึงดำริร่วมใจกันที่จะสร้างวัดนี้ต่อไป นางจ่ายถึงกับขันอาสาไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าจอมแว่น ในที่สุดความปรารถนาของทั้งสองก็สมประสงค์ เจ้าจอมแว่นได้มอบทุนให้มาจำนวนหนึ่ง ครั้งหลังก็ได้สร้างเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง คือ สร้างกุฏิขึ้น 4 คณะ ทางมุมด้านใต้เป็นกุฏิตึกถือปูนทั้งหมด แต่ละคณะก็มีกุฏิ 4 หลัง หลังหนึ่ง ๆ มี 2 ห้อง กุฏิเจ้าอาวาสปลูกอยู่ทางทิศตะวันออกของคณะ ได้สร้างถนนผ่านระหว่างช่องกุฏิ แล้วก่อกำแพงอิฐล้อมรอบสูง 1 วา มีประตูเข้าออกทั้ง 4 ทิศ บริเวณที่หมู่กุฏินี้ตั้งอยู่ บัดนี้กลายเป็นเขตบ้านเช่าไปหมดแล้ว

ครั้นแล้วเสร็จ เมื่อจะขอพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตอนที่จะเชิดหน้าชูตาผู้สร้าง ก็เกิดทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเสียงเกี่ยงแย่งกันจะเอาชื่อ นางจ่ายก็อยากจะขอพระราชทานในนามของตนเพราะตัวอุตส่าห์วิ่งหาเงินหาทองมาสร้าง ฝ่ายนายสังข์ก็ไม่ยอม ปรารถนาจะขอในนามของตนเหมือนกัน เพราะตนก็สละหยาดเหงื่อและแรงกายทุ่มเทมาตั้งแต่แรกเริ่มแทบล้มแทบตาย จึงเมื่อต่างมาเกิดแตกคอกันขึ้นในเรื่องนี้ นางจ่ายจึงวิ่งเข้าหาเจ้าจอมแว่นนายตน เล่าความเป็นมาให้ทราบ โดยฐานะที่เจ้าจอมแว่นเป็นที่พระสนมเอก พระเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมาก จะทูลอะไรก็ทูลได้ ครั้นเมื่อได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอให้พระราชทานวิสุงคามสีมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสว่า วัดที่นายสังข์นางจ่ายสร้างขึ้นนั้น ไม่สวยสมเกียรติกับพระสนมเอกเช่นเจ้าจอมแว่น ทรงรับจะสร้างพระราชทานใหม่ จึงโปรดเกล้าให้กรมหมื่นไกสรวิชิตมาเป็นนายงานควบคุมสร้างพระอุโบสถขึ้น ให้หันหน้าไปทางคลองบางวัวทองอยู่เคียงกับกุฏิสงฆ์ของเดิม พร้อมกับได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่อีกหมู่หนึ่งตรงมุมพระอุโบสถด้านใต้อีกด้วย

เล่ากันว่า แรกขุดพระอุโบสถนั้น พบพระกัจจายน์องค์หนึ่ง กับสังข์ตัวหนึ่ง เฉพาะสังข์ชำรุดเพราะแรงจอบเสียมที่ขุด ส่วนพระกัจจายน์ที่ขุดได้ครั้งนั้นให้เก็บรักษาไว้เป็นพระคู่อาราม พอสร้างสำเร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงถือเอานิมิตเหตุอันนี้พระราชทานนามว่า วัดสังข์กระจายนึกคิดดูแล้วก็น่าแปลก วัดนี้นายสังข์กับนางจ่ายเป็นผู้ริเริ่มสร้าง เมื่อนำเอาชื่อของคนทั้งสองมาเข้าคู่กันเป็น สังข์- จ่ายก็รู้สึกว่าฟังใกล้เคียงกับคำว่า สังข์กระจายน์นามที่พระราชทานเป็นที่สุด.

 

วัดสังข์กระจายมีประวัติปรากฏอยู่ในหนังสือตำนานพระอารามหลวงฉบับหอสมุดวชิรญาณว่าอยู่ในคลองบางกอกใหญ่ฝั่งเหนือ เป็นวัดโบราณ รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาใหม่พระราชทานเจ้าจอมแว่นหรือนัยหนึ่งเรียกว่า คุณเสือ พระสนมเอก ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์

วัดสังข์กระจายมีเกียรติประวัติอันสูงส่งที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วยความภาคภูมิใจในที่นี้ คือ เป็นสำนักที่ให้กำเนิดวรรณคดีอันมีค่ายิ่งเรื่องหนึ่งที่มีรสไพเราะจับใจผู้อ่านผู้ฟังทั่วไป วรรณคดีเรื่องนั้นคือ มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ชูชก เล่ากันมาว่า สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส กวีเอกของไทย เมื่อทรงนิพนธ์มหาเวสสันดรชาดก หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า มหาชาติร่ายยาว ได้ทรงนิพนธ์กัณฑ์อื่น ๆ ใหม่เป็นส่วนมาก แต่กัณฑ์ชูชกไม่ทรงนิพนธ์ โดยรับสั่งว่าให้ใช้ของเก่าที่สำนักวัดสังข์กระจายแต่งไว้ เพราะถึงแม้พระองค์จะทรงนิพนธ์ใหม่ก็สู้ของเก่าไม่ได้ อันนี้ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างแจ่มชัดว่า มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ชูชก ที่แต่งโดยสำนักวัดสังข์กระจาย ดีเลิศเพียงไร แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหนังสือมหาเวสสันดรชาดกนั้น กัณฑ์อื่น ๆ บางกัณฑ์บอกชื่อผู้แต่งไว้ชัดเจน แต่กัณฑ์ชูชกบอกไว้อย่างคลุมเครือว่า ผู้นิพนธ์โดยสำนักวัดสังข์กระจาย จึงเป็นอันยังไม่ทราบชื่อผู้แต่งที่แท้จริงว่าเป็นใคร และยังเป็นเรื่องอยู่ในความสนใจใคร่รู้ของนักศึกษาประวัติวรรณคดีมหาเวสสันดรชาดกทั่วไป

ชื่อวัดสังข์กระจายมีปรากฏอยู่ในวรรณคดีที่ขึ้นชื่ออันควรนำมากล่าวคือ ในหนังสือนิราศนรินทร์ ซึ่งนายนรินทร์ธิเบศร์ (อินทร์) แต่ง เนื่องในคราวที่ได้โดยเสด็จสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปปราบพม่าข้าศึกที่ยกมาล้อมเมืองถลาง เมื่อตอนเรือผ่านวัดสังข์กระจายได้แต่งเป็นโคลงไว้ว่า

สังข์กระจายพี่จากเจ้า จอมอนงค์

สังข์พระสี่กรทรง จักรแก้ว

สรวมทิพย์สุธาสรง สายสวาท พี่เอย

สังข์สระสมรจงแผ้ว ผ่อนถ้าเรียมถึง

อีกแห่งหนึ่งในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ เมื่อสุนทรภู่ไปเมืองเพชรแล่นเรือผ่านมาทางวัดสังข์กระจายได้บรรยายไว้เป็นกลอนว่า

ถึงวัดพลับลับลี้เป็นที่สงัด

เห็นแต่วัดสังข์กระจายไม่วายหมอง

เหมือนกระจายพรายพลัดกำจัดน้อง

มาถึงคลองบางลำเจียกสำเหนียกนาม

ลำเจียกเอ๋ยเคยชื่นระรื่นรส

จำต้องอดออมระอาด้วยหนาหนาม

ทั้งนี้ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่าวัดสังข์กระจายน่าจะเป็นวัดสำคัญอยู่ในสมัยนั้น เพราะเมื่อผู้ใดผ่านไปมาย่อมจะบันทึกชื่อเข้าไว้

เรื่องราวของวัดสังข์กระจาย ที่กล่าวถึงมูลเหตุของการสร้างวัดนี้
เท่าที่พบในตำนานปรากฏไม่ค่อยละเอียดย่นย่อเกินไป เคราะห์ดีที่มีบันทึกเกี่ยวกับประวัติของวัดบางตอนของท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์

(วรรณ ป.3) อดีตเจ้าอาวาส ประกอบกับได้อาศัยคำชี้แจงของผู้สูงอายุบางท่านที่น่าเชื่อถือได้
มากลั่นกรองใคร่ครวญประกอบเป็นตำนานโดยยึดข้อเท็จจริงที่น่าจะเป็นหลัก ก็ทำให้รู้เรื่องราวได้พิสดารออกไปกว่าเดิม

ตามบันทึก ท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์เผยว่า ได้ฟังมาจากท่านเจ้าคุณพระสังฆวรานุวงศ์เถระ
(เอี่ยม) พระอุปัชฌาย์ของท่านเองอีกต่อหนึ่ง ท่านบอกว่า ตำแหน่งที่วัดตั้งอยู่นี้แต่เดิมเป็นที่ลุ่มราบผู้เฒ่าผู้แก่ก่อน
ๆ ท่านก็รับสมอ้างว่าจริง น่าจะเป็นด้วยอยู่ริมคลองน้ำขึ้นท่วมถึงได้ บริเวณก็รกร้างทึบ
มีต้นไม้ขนาดคนสามคนโอบ เช่น ต้นไทร ต้นตะเคียน ต้นยาง ยืนต้นเคียงแข่งกันแลดูครึ้มทะมึนวังเวง
ไม้เครือเถาต่าง ๆ ก็ขึ้นไต่ต้นไม้สูง ๆ ระโยงรยางค์ยั้วเยี้ยไม่ผิดกับป่าลึกดงร้าง
นี่น่าจะเป็นมาตั้งแต่ครั้งที่ยังไม่ได้สร้างวัดเสียอีก ต้นไม้เหล่านี้ส่วนมากได้ตัดเสียครั้งท่านเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์
(เอี่ยม) ในรัชกาลที่
5 ในสมัยท่านเจ้าคุณวรรณก็ยังเป็นดงอยู่มาก
แต่ละต้นสูงใหญ่เงื้อมฟ้าทั้งนั้น กล่าวกันว่า เคยมีนกแร้งมาอาศัยออกไข่ทำรัง ปัจจุบันยังมีเหลืออยู่บ้าง
แต่ไม่ค่อยสูงเหมือนก่อน เพราะได้โค่นลงเสียมากต่อมากนัก

ในทำเนียบพระอารามหลวง แจ้งว่า
ก่อนสร้างวัดขึ้นใหม่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดสังข์กระจายเป็นวัดโบราณมาก่อน
เห็นจะราว ๆ ยุคปลายกรุงศรีอยุธยาคาบเกี่ยวกับยุคต้นกรุงธนบุรี ได้สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียงวัดนี้
และเคยพบเห็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าคุณวรรณ ชี้แจงให้ฟังน่าจะมีเค้าสมจริง
เพราะได้เคยขุดพบลูกนิมิตหลายลูกฝังอยู่ทางด้านนอกกำแพงแถบเหนือพระอุโบสถ เดี๋ยวนี้อยู่ถัดหลังวัดวิหารออกมา
แต่ก็คงจะเป็นวัดเล็ก ๆ ภายหลังที่บ้านเมืองอยู่ในยุคทมิฬติดพันด้วยศึกพม่า ไร้ผู้คนและพระสงฆ์จะอยู่จึงร้างโรยราไป
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวัดที่ไม่ใหญ่โตอะไร จึงไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้จับหลักฐานได้มากนัก
อีกประการหนึ่งก็คงจะถูกถอนเสียในคราวเริ่มสร้างใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง

ตำนานของวัดสังข์กระจายมีหลักฐานทราบได้แน่นอน
ก็ตกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเรื่องเล่ากันมาว่า

ในปลายสมัยกรุงธนบุรี มีสัปบุรุษผู้หนึ่ง เป็นสัมมาจารีบุคคล เคร่งครัดในการให้ทานบำเพ็ญกุศลและสดับธรรม
สมาทานศีลอุโบสถอยู่เป็นนิจ เป็นสัปบุรุษที่มีจริยาวัตรน่าเลื่อมใสของวัดราชสิทธาราม
สัปบุรุษผู้นี้เป็นข้าราชการตำแหน่งนายสารบบ (ในกรมพระสุรัสวดี) ชื่อนายสังข์ ตั้งบ้านเรือนอยู่บนฝั่งห่างจากปากคลองบางวัวทองลึกเข้าไปประมาณ
7 เส้นเศษ จำเนียรกาลมา
นายสังข์ได้มีจิตศรัทธาดำริจะสร้างวัดขึ้นใหม่ในที่ดินแดนนี้ จึงได้ไปปรึกษากับนายพลับผู้ชอบพอคุ้นเคยกัน
เพื่อขอไม้ซุงมาสักต้นหนึ่ง นายพลับเมื่อได้ทราบดังนี้ ก็อนุโมทนาพลอยยินดีด้วย และอนุญาตให้ซุงต้นหนึ่งตามความประสงค์

เมื่อตอนล่องซุงในคลองบางวัวทอง นายสังข์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า
เดชะ ด้วยอำนาจบุญญปณิธาน หากซุงที่ข้าพเจ้าปล่อยให้กระแสน้ำพัดล่องไปตามลำคลองนี้ลอยไปติด
ณ ที่ใด ข้าพเจ้าก็จักจัดการสร้างวัดขึ้นตรงนั้น
ซึ่งเป็นธรรมดาของคนโบราณย่อมถือในเรื่องอำนาจบุญดลบันดาลและเทพาบันดาลหนุน
ด้วยอำนาจเสี่ยงสัตยาธิษฐานซุงก็ได้ลอยมาติดตรงหน้าวิหารปัจจุบันนี้เป็นอัศจรรย์ มีทำเลพอเหมาะพอดีควรแก่การสร้างวัดนัก
นายสังข์จึงเลยตกลงสร้างวัดตรงนี้ แต่การสร้างวัดนั้นเป็นเรื่องใหญ่โต ต้องค่อยทำค่อยไปตามกำลังทรัพย์และเวลาจะเกื้อหนุนให้
หนแรกนายสังข์ได้คิดสร้างกุฏิวิปัสสนาขึ้นก่อน จึงได้เลื่อยซุงท่อนนั้นออกเป็นเครื่องบน
กุฏิวิปัสสนานี้ ก่ออิฐถือปูนขาว กว้าง
2 วา ยาว 3 วา 1 คืบ สูง 2 วา 1 คืบ เท่านั้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ มีประตูหน้าต่างอย่างละหนึ่งบาน
ซ้ำทำไว้เล็ก ๆ อีกด้วย ข้างในทำเป็นแท่นก่อปูนสำหรับนั่งนอนหรือใช้เป็นที่บำเพ็ญวิปัสสนาเหมาะเฉพาะเพียงคนเดียว

ต่อมาเจ้าจอมแว่น หรือที่เรียกขานกันว่าคุณเสือ
เป็นชาวเมืองเวียงจันทร์ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ส่งข้าหลวงสนิทคนหนึ่งเป็นหญิงมดชื่อจ่ายให้ไปเฝ้าสวนของตนซึ่งมีเนื้อที่ติดกับที่ของนายสังข์
นางจ่ายคนนี้น่าจะมีอะไรแปลก ๆ เป็นแน่จึงเรียกกันว่าแม่มด และเจ้าจอมแว่นคงจะเห็นเหมาะที่จะเฝ้าสวนจึงได้ส่งมา
ภายหลังไม่นานนางจ่ายกับนายสังข์มีความสนิทชอบพอกันมาก จึงดำริร่วมใจกันที่จะสร้างวัดนี้ต่อไป
นางจ่ายถึงกับขันอาสาไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าจอมแว่น ในที่สุดความปรารถนาของทั้งสองก็สมประสงค์
เจ้าจอมแว่นได้มอบทุนให้มาจำนวนหนึ่ง ครั้งหลังก็ได้สร้างเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง
คือ สร้างกุฏิขึ้น
4 คณะ ทางมุมด้านใต้เป็นกุฏิตึกถือปูนทั้งหมด
แต่ละคณะก็มีกุฏิ
4 หลัง หลังหนึ่ง ๆ มี 2 ห้อง กุฏิเจ้าอาวาสปลูกอยู่ทางทิศตะวันออกของคณะ
ได้สร้างถนนผ่านระหว่างช่องกุฏิ แล้วก่อกำแพงอิฐล้อมรอบสูง
1 วา มีประตูเข้าออกทั้ง 4 ทิศ บริเวณที่หมู่กุฏินี้ตั้งอยู่
บัดนี้กลายเป็นเขตบ้านเช่าไปหมดแล้ว

ครั้นแล้วเสร็จ
เมื่อจะขอพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตอนที่จะเชิดหน้าชูตาผู้สร้าง
ก็เกิดทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเสียงเกี่ยงแย่งกันจะเอาชื่อ นางจ่ายก็อยากจะขอพระราชทานในนามของตนเพราะตัวอุตส่าห์วิ่งหาเงินหาทองมาสร้าง
ฝ่ายนายสังข์ก็ไม่ยอม ปรารถนาจะขอในนามของตนเหมือนกัน เพราะตนก็สละหยาดเหงื่อและแรงกายทุ่มเทมาตั้งแต่แรกเริ่มแทบล้มแทบตาย
จึงเมื่อต่างมาเกิดแตกคอกันขึ้นในเรื่องนี้ นางจ่ายจึงวิ่งเข้าหาเจ้าจอมแว่นนายตน เล่าความเป็นมาให้ทราบ
โดยฐานะที่เจ้าจอมแว่นเป็นที่พระสนมเอก พระเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมาก
จะทูลอะไรก็ทูลได้ ครั้นเมื่อได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอให้พระราชทานวิสุงคามสีมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสว่า วัดที่นายสังข์นางจ่ายสร้างขึ้นนั้น
ไม่สวยสมเกียรติกับพระสนมเอกเช่นเจ้าจอมแว่น ทรงรับจะสร้างพระราชทานใหม่ จึงโปรดเกล้าให้กรมหมื่นไกสรวิชิตมาเป็นนายงานควบคุมสร้างพระอุโบสถขึ้น
ให้หันหน้าไปทางคลองบางวัวทองอยู่เคียงกับกุฏิสงฆ์ของเดิม พร้อมกับได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่อีกหมู่หนึ่งตรงมุมพระอุโบสถด้านใต้อีกด้วย

เล่ากันว่า แรกขุดพระอุโบสถนั้น พบพระกัจจายน์องค์หนึ่ง

กับสังข์ตัวหนึ่ง เฉพาะสังข์ชำรุดเพราะแรงจอบเสียมที่ขุด ส่วนพระกัจจายน์ที่ขุดได้ครั้งนั้นให้เก็บรักษาไว้เป็นพระคู่อาราม

พอสร้างสำเร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงถือเอานิมิตเหตุอันนี้พระราชทานนามว่า วัดสังข์กระจายนึกคิดดูแล้วก็น่าแปลก

วัดนี้นายสังข์กับนางจ่ายเป็นผู้ริเริ่มสร้าง เมื่อนำเอาชื่อของคนทั้งสองมาเข้าคู่กันเป็น สังข์- จ่ายก็รู้สึกว่าฟังใกล้เคียงกับคำว่า สังข์กระจายน์นามที่พระราชทานเป็นที่สุด.

ตำนานวัดสังข์กระจาย กับ “มหานิมิต” วันปลุกเสก “หลวงพ่อกัจจายน์” องค์จำลอง

ประวัติวัดสังข์กระจาย จากหนังสือของกรมศิลปากร

ชั้นและตำบลที่ตั้งวัด

วัดสังข์กระจาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิด “วรวิหาร” ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของถนนอิสรภาพ บนฝั่งเหนือคลองบางกอกใหญ่ ใกล้สะพานเจริญพาศน์ ตําบลท่าพระ อําเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี วัดนี้ เดิมมีชื่อเรียกและเขียนกันหลายอย่าง คือ วัดสังกระจาย วัดสังฆจาย วัดสังฆจายน์ วัดสังข์กัจจายน์ และวัดสังข์กระจาย แต่ปัจจุบัน เรียกและเขียนชื่อหลัง คือ วัดสังข์กระจาย

ในพระอุโบสถ มีคำโคลงจารึกบนแผ่นหิน เกี่ยวกับ ชื่อวัดไว้ว่า

(ด้านหน้า) สังข์กจายสังกจัดด้วย      เหตุใด

        พระเอย สังฆเภทฤาพาลไภย   ออกอ้าง

        สังข์ทรงจักรไกร                เกรียงเดช ดอกพ่อ

        สังขราพนารายน์มล้าง          ต่างลี้ หนีกจาย

(ด้านหลัง) สังกจายหมายชื่อ  ใช่สงฆ์ กจายเอย

        สงขบจากเขตคง       ถิ่นนี้

        สังข์ราพต่อยุทธองค์   สังข์จัก กรีนา

        สังข์หมู่สังขอสูร       หลบเร้น กจายหาย

เรื่องที่เกี่ยวกับ ชื่อวัด และโคลง ทั้ง ๒ บทนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เคยทรงวินิจฉัย กันมาแล้วในพระนิพนธ์เรื่องสาส์นสมเด็จ ขอคัดมาลงไว้ ดังต่อไปนี้

ลายพระหัตถ์ของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔ มีข้อความ ตอนหนึ่งว่า

    “โคลงหน้าโบสถ์กับหลังโบสถ์เป็นโคลงอย่างเดียว กัน ยึดเอาสังขอสูรเป็นชื่อวัด ออกจะไม่เก่งที่เอาเรื่อง ไสยศาสตร์มาใส่กับพุทธศาสตร์ ทั้งสังขอสูรก็ดูเหมือน ไม่มีบริวารด้วย”

ลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลง วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๘๕ มีข้อความว่า

      “โคลงที่วัดสังข์กระจายนั้น ทั้ง ๒ บทความเกี่ยว กัน สำนวนเป็นกวีผู้สันทัดแต่งโคลง อาจจะเป็นคน เดียวกันแต่งทั้ง ๒ บทก็ได้ เหตุใดจึงเอาไปเขียนไว้เป็น เครื่องประดับที่ฝาผนังโบสถ์ หม่อมฉันเห็นว่าผู้แต่งเห็นจะมีบรรดาศักดิ์สูงถึงเป็นเจ้านายก็ได้ แต่งประทานพระ ราชาคณะเจ้าอาวาสฯ เป็นผู้ให้เขียนไว้ จะเลยทูลวินิจฉัย เรื่องชื่อวัดสังข์กระจายต่อไป อันวัดสังข์กระจายนั้นเดิม เป็นวัดราษฎร สร้างในแขวงจังหวัดธนบุรีแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

      หม่อมฉันเคยคิดเห็น ถึงได้แสดง ปาฐกถามาแต่ก่อนว่า วัดที่ราษฎรสร้างหรือเรียกโดยย่อ ว่า วัดราษฎร์ นั้น โดยมากไม่ได้มีชื่อมาแต่แรกสร้าง ทั้งผู้สร้างและคนอื่นในท้องถิ่นเรียกกันแต่ว่า “วัด” ถ้าในถิ่นหนึ่งมีกว่าวัดเดียวก็เรียกกันว่า “วัดเหนือ” “วัดใต้” หรือ “วัดใหญ่”  “วัดน้อย” หรือ  “วัดนอก”  “วัดใน” ให้ผิดกัน

     ชื่ออย่างอื่นที่เรียกวัดเกิดแต่คนต่างถิ่นเรียกกัน ถ้ามีแต่วัดเดียวก็เอาชื่อตำบลเรียกเช่นว่า “วัดบางว้า” และ “วัดบางยี่เรือ” ถ้าในตำบลนั้น มีหลายวัดก็เอาคุณศัพท์ที่ชาวบ้านเรียกเข้าต่อท้าย เช่น “วัดบางว้าใหญ่” “วัดบางว้าน้อย” วัดบางยี่เรือใน วัดบางยี่เรือกลาง และ วัดบางยี่เรือนอก

     หรือมิฉะนั้นก็เรียกตามชื่อผู้สร้าง วัดเช่นว่า “วัดเจ้าขรัวหงส์” “วัดจางวางดิศ” และ “วัดจางวางพวง” มิฉะนั้นก็เอาชื่อสิ่งสำคัญซึ่งอยู่ใกล้วัดเรียกเป็นชื่อวัด เช่น “วัดโรงฆ้อง” “วัดท้ายตลาด” หรือเอาของแปลกที่มีอยู่ในวัดเรียกเป็นชื่อวัดเช่น “วัดโพธิ์“ วัดโบสถ์ วัดเจดีย์แดง แม้จนวัด(ต้น)เสียบ และ วัด(มีรูป)ลิงขบ เป็นต้น

เขตและอุปจาร

วัดสังข์กระจายมีเขตโดยรอบ จากด้านตะวันออกวัดตามแนวเขื่อนริมคลองบางกอกใหญ่เป็นส่วนกว้างได้ 159.5 เมตร ด้านใต้จากคลองบางกอกใหญ่วัดตามแนวคูวัดถึงเขตหลังวัดยาว 332 เมตร ด้านเหนือถึงเขตหลังวัดยาว 332 เมตรเศษ ด้านเหนือจากคลองบางกอกใหญ่วัดยืนขึ้นไปตามริมฝั่งคลองบางวัวทองถึงเขตหลังวัดยาว 332 เมตร ด้านตัดเขตหลังวัดทิศตะวันตกกว้าง 195 เมตร เป็นเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา

ที่ธรณีสงฆ์ของวัด มีส่วนติดกับเขตวัดออกไปอีก 2 ขนัด ขนัดหลังเขตวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา ขนัดข้างเขตวัดตอนหลังมีเนื้อที่ 3 งาน 21 ตารางวา

เขตจำพรรษา ยกบริเวณที่ดินซึ่งได้ยุบเป็นบ้านเช่าเป็นอุปจารเสียแล้ว พระสงฆ์ต้องกำหนดเขตขึ้นใหม่เพื่ออยู่จำพรรษา ทิศตะวันออกมีคลองบางกอกใหญ่เป็นเครื่องกำหนดเขต ทิศใต้มีคูวัดเป็นเครื่องกำหนดเขต ทิศตะวันตกมีเขตจดถนนข้างวิหาร ทิศเหนือมีเขตจดคลองบางวัวทอง ภายในระยะพรรษา พระสงฆ์จะต้องรับอรุณภายในเขตที่กำหนดนี้

เกียรติคุณของวัดสังข์กระจายฯ

ที่ขึ้นชื่อกว่าสิ่งอื่นใดจนถึงบัดนี้ คือ สำนวนมหาชาติกลอนเทศน์กัณฑ์ชูชกที่กล่าวว่า
สำนักวัดสังข์กระจายฯเป็นผู้แต่ง นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร
ได้อธิบายเรื่องมหาชาติกลอนเทศน์ และเรื่องแต่งสำนวนดีไว้ว่า

หนังสือมหาชาติแต่งสำหรับนักเทศน์
ซึ่งเรียกกันว่ามหาชาติกลอนเทศน์นั้น วิธีแต่งก็คือเอาคำบาลีทั้งที่เป็นคาถาและอรรถกถาลงไว้
แล้วแต่งความภาษาไทยเป็นร่ายยาวต่อเข้าเป็นตอนสำหรับเทศน์ ด้วยประสงค์จะให้ฟังทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี
มหาชาติกลอนเทศน์นี้เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในพื้นเมืองยิ่งกว่าสำนวนเก่าและมีผู้แต่งกันขึ้นมากมายหลายสำนวน
ผู้แต่งในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ที่ปรากฏชื่อเสียงก็มีหลายท่าน เช่น พระเทพโมลี

(กลิ่น) เจ้าพระยาคลัง (หน) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังมีท่านที่ไม่ปรากฏชื่อ
ปรากฎแต่สำนัก คือ สำนักวัดสังข์กระจายฯ แต่งไว้อีก คงจะได้จากฉบับที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำมารวมพิมพ์เป็นร่ายยาวมหาเวชสันดรชาดก
ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยประเภทสอนอ่านกวีนิพนธ์ทุกวันนี้ บทร้อยกรองเรื่องมหาชาติสำนวนต่าง
ๆ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นวรรณคดีไทยที่มีรสนิยมแปลกและไพเราะเพราะพริ้งเป็นอย่างยิ่ง

ที่ว่าสำนักวัดสังข์กระจายฯเป็นผู้แต่งกัณฑ์ชูชกนั้น ท่านแต่ก่อนคงจะยังไม่ทราบตัวผู้แต่งแน่ชัด
ทราบแต่เพียงเค้าเงื่อนว่าท่านผู้แต่งอยู่ในสำนักวัดนี้ แต่ปัจจุบันลงความเห็นกันว่า
พระเทพมุนี (ด้วง) เจ้าอาวาสวัดสังข์กระจายองค์ที่ ๑ เป็นผู้แต่ง
ในประกาศเรื่องบำเพ็ญพระราชกุศลเทศน์มหาชาติในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๕๐ ก็มีข้อความตอนหนึ่งว่า
เจ้าจอมฝ่ายใน (คุณเสือ) รับกัณฑ์ชูชก พระเทพมุนี วัดสังขจายสำแดง.