ลำดับเจ้าอาวาส

องค์ที่ ๑

พระเทพมุนี (ด้วง) 

ระเทพมุนี นามเดิม ด้วง อดีตเจ้าอาวาสวัดสังข์กระจายวรวิหาร และเป็นผู้ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่าเป็นผู้แต่งมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ชูชก

ประวัติ

พระเทพมุนี ไม่ปรากฎประวัติในตอนต้น ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสังข์กระจายวรวิหารในสมัยรัชกาลที่ 1 ในพ.ศ. 2332 คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทติดเป็นเพลิงไหม้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟจุฬาโลกมหาราชทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอัปมงคลนิมิตรแก่บ้านเมือง พระราชาคณะต่างได้ลงชื่อถวายชัยมงคล ซึ่งรายนามพระสงฆ์ที่ถวายพระพรครั้งนั้นมีพระเทพมุนีวัดสังข์กระจายด้วยรูปหนึ่ง นอกจากนี้พระเทพมุนียังเคยถวายแก้ข้อกังหาปัญหาธรรมและพระราชปุจฉาในรัชกาลที่ 1 อีกด้วย

เมื่อปี พ.ศ. 2350 พระเทพมุนี วัดสังข์กระจาย ได้เข้าถวายเทศน์กัณฑ์ชูชกในรัชกาลที่ 1 ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ กล่าวว่า

“(พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ทรงพระจินดาไมยญาณ จะทรงพระราชอุทิศอัครมหาบูชาวรามิศวิจิตรอัศจรรย์ แก่มหาเวสสันดรชาดกเบื้องปลายใกล้ปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ จึงมีพระราชบริหารดำรัสเหนือเกล้าสั่งสมเด็จอัคราโชรส และสมเด็จพระอัคคราชนัดดาบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวง ให้แจกรับปันซึ่งกัณฑ์มหาชาติ พระบรมราชโองการที่โปรดให้บรมวงศานุวงศ์รับเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์เป็นกัณฑ์ ๆ ไปนี้ปรากฏว่า เจ้าจอมฝ่ายในรับกัณฑ์ชูชก พระเทพมุนีวัดสังข์กระจายสำแดง”

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานไว้ในหนังสือ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่กรุงรัตนโกสินทร์ ว่า “บางทีจะเป็นผู้แต่งกัณฑ์ชูชก ที่เรียกกันว่า ความเรียงวัดสังข์กระจาย ซึ่งเทศน์กันอยู่ทั่วไปทุกวันนี้”

องค์ที่ ๒

พระครูมารวิชิต (ดา)

ชาติภูมิเป็นชาวจังหวัดปัตตานี ประวัติสืบได้เพียงเท่านี้

องค์ที่ ๓

พระเนกขัมมุนี (แสง)

ชาติภูมิเป็นชาวตำบลแจงร้อน อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ประวัติสืบได้เพียงเท่านี้

องค์ที่ ๔

พระสังวรวิมล (มา)

นามเดิม ชื่อ มา ท่านเป็นเปรียญ มาจากวัดราษฎร์บูรณะ ประวัติสืบได้เพียงเท่านี้

องค์ที่ ๕

พระปรากรมมุนี (นวล บางแห่งเขียนว่า นวน)

ชาตภูมิเป็นชาวจังหวัดตราด เมื่อบรรพชาสามเณรอยู๋วัดราชคฤห์ จังหวัดธนบุรี แล้วมาอุปสมบทที่วัดสังข์กระจาย เป็นนักเทศน์กัณฑ์ชูชกมีชื่อและดูฤกษ์ยามได้แม่นยำ เนื่องจากเคยเป็นโหรหลวง มรณภาพเมื่อเดือน ๑๐ ปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พุทธศักราช ๒๓๔๙

องค์ที่ ๖

พระอริยศีลาจารย์ (เอี่ยม)

ชสติภูมิเป็นชาวตำบลแจงร้อน อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสังข์กระจายและอุปสมบทที่วัดรวกโดยมีพระอุดมญาณ (ฟัก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปรากรมมุนี (นวล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านได้รับตำแหน่งต่อจากพระปรากรมมุนี (นวล) เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์เป็น พระครูสุนทรทรากษรวิจิตร ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอริยศีลาจารย์ นอกจากจะเป็นนักก่อสร้างและมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ กัณฑ์ชูชกและกัณฑ์ทานกัณฑ์ ได้แต่งหนังสือไว้อีก ๒ เล่ม คือ  สุภาษิตระตะนัตยะและอักษรโกศลกุมารสาส์น 
มรณภาพในระหว่าง พ.ศ.๒๔๒๕-๒๔๓๖

องค์ที่ ๗

พระอริยศีลาจารย์ (แสง)

ชาติภูมิเป็นชาวธนบุรี อุปสมบทที่วัดเวฬุราชิณ จังหวัดธนบุรี แล้วมาอยู่วัดสังข์กระจาย เป็นครูสอนมูลกัจจายน์ของสำนักวัดสังข์กระจาย และได้เป็นพระปลัดฐานานุกรมของ

เจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์ (เอี่ยม) เมื่อเจ้าคุณพระอริยศลาจารย์ (เอี่ยม) ถึงมรณภาพแล้ว ได้เป็นเจ้าอาวาสแทน มีสมณศักดิ์เป็น พระครูอริยศีลาจารย์ และต่อมา

ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอริยศีลาจารย์

มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑

องค์ที่ ๘

พระอริยศีลาจารย์ (วรรณ บางแห่งเขียนว่า วัน)

ชาติภูมิเป็นชาวบ้านจุกกระเฌอร์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๘

เมื่ออายุได้ ๙ ปี เรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมจากอาจารย์ดีที่วัดจุกกระเฌอร์ เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี อาจารย์ดีได้ลาสิกขา จึงได้ย้ายไปอยู่กับอาจารย์ลอย ต่อมาอาจารย์ลอย

ได้ลาสิกขา จึงไปอยู่กับอาจารย์แพ เมื่ออายุ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออาจารย์แพได้มาศึกษาอยู่กับเจ้าอธิการจันทร์วัดเจ้าอาม จังหวัดธนบุรีได้ ๒ เดือนเศษ จึงย้าย

ไปอยู่ที่วัดพึงพังพวยชีงนายมีเป็นคนสร้าง ภายหลังสึกจากสามเณรแล้วได้มาอยู่บ้านนายมีแต่ไม่นานนัก นายมีได้นำไปฝากกับเจ้าคุณพระอริยศลาจารย์ (เอี่ยม) วัดสังข์กระจาย เพื่อ

เรียนบาลี เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่งได้เรียนมูลกัจจายน์จากพระปลัดแสง (เจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์ แสง) บ้าง ท่านอาจารย์กลับบ้าง ท่านอาจารย์อุ่มบ้าง ได้

เรียนเพิ่มเติมจากท่านอาจารย์ฟัก วัดประยุรวงศาวาส เมื่อเจ้าคุณพระอริยศลาจารย์ (แสง) เป็นเจ้าอาวาสวัดสังข์กระจาย ได้อุปสมบทที่วัดนี้เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ โดยมี

พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมปหังษนาจารย์ (ศาสตร์) วัดหงษ์รัตนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอริยศีลาจารย์(แสง)

เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า “ปณฺฑิโต”เมื่ออุปสมบทได้ ๓ พรรษา เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของเจ้าอาวาส แต่ยังคงไปเรียนบาลีจากท่านอาจารย์ฟักใน

ตอนเช้า ตอนเพลไปเรียนกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เปีย)วัดกัลยาณมิตร พ.ศ. ๒๔๔๐ เข้าสอบบาลีสนามหลวงที่วัดสุทัศนเทพวราราม และสอบได้ ๑ ประโยค ต่อมาย้ายไปอยู่วัต

สุทัศนฯ เพื่อเรียนบาลีเพิ่มเติมจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(นาค) และพระยาธรรมปรีชา (ทิม) ที่วัดสุท้ศนฯ บ้าง เรียนจากสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุบ้าง และเข้า

สอบบาลีสนามหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๔๕ ครั้น พ.ศ. ๒๔๔๘ได้ย้ายกลับวัดสังข์กระจายโดยช่วยเจ้าอาวาสดูแลวัดจนกระทั่ง

เจ้าอาวาสถึงมรณภาพใน พ.ศ. ๒๔๕๑ จึงได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูอริยศิลาจารย์ และดำรงตำแหน่ง

เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระอริยศีลาจารย์

ต่อมามรณภาพด้วยโรคชราเมื่อ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี

องค์ที่ ๙

พระราชศีลาจาร (เกษม สมบูรณ์)

ชาติภูมิเป็นชาวตำบลคลอง

มะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เกิดเมื่อวันพุธที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ เมื่ออายุ ๑๗ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสังข์กระจาย เจ้าคุณพระอริยศลาจารย์ (วรรณ)

เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๖๘ณ วัดสังข์กระจาย โดยมีพระอธิการแก้ว วัดนางสาว ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า “พฺรหฺมสิริ” เมื่ออุปสมบทแล้วได้เข้าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗. สอบได้นักธรรมชั้นตรี และเปรียญ ๓ ประโยคพ.ศ. ๒๔๗๒

สอบได้นักธรรมชั้นโท เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์ จึงยุติการศึกษาและได้ช่วยดูแลกิจการของวัดแบ่งเบาภารกิจ

พระอริยศิลาจารย์ (วรรณ) ซึ่งชราภาพมากแล้ว ใน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสังฆวิสุทธิคุณพระครูผู้ช่วยเจ้าอาวาสชั้นเอก พ.ศ. ๒๔๙๘

รับหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาส เนื่องจากเจ้าอาวาสมรณภาพ ได้เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ในพ.ศ. ๒๕๐๒ ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระอริยศีลาจารย์ พ.ศ. ๒๕๓๑

ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชศิลาจาร

ท่านได้มรณภาพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ สิริรวมอายุได้ ๙๔ ปี

องค์ที่ ๑๐ (องค์ปัจจุบัน)

พระพิศาลพิพัฒนพิธาน (อรุณ ปานประเสริฐ)

ชาติภูมิเป็นชาวตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ โยมบิดาชื่อนายจิบปานประเสริฐ โยมมารดาชื่อ

นางบุญรอด ปานประเสริฐ ได้อุปสมบทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ณ วัดช่องลม ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

โดยมีพระมหามงคล อติสโร วัดเกาะใหญ่ ตำบลกระดังงาอำเภอบางคณที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า อริยว์โส

สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดช่องลมวรรณาราม (สมุทรประชานุกูล) ตำบลวัดประดู่ อำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ 

สอบได้นักธรรมเอกจากสำนักเรียนคณะจังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๕๐๔ และสอบได้เปรียญ ๖ ประโยค จากสำนักวัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔

งานปกครอง

พ.ศ. ๒๕๑๗   เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ. ๒๕๑๔   เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

พ.ศ. ๒๕๓๓   เป็นรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๑   เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๒   เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๓   เป็นพระอุปัชฌาย์

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๒๑   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก(ผจล.ชอ.) ที่ พระครูไพโรจน์ปัญญาภรณ์

พ.ศ. ๒๕๓๑   ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ (ผจล.ชพ.) ในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๔๔   ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก(จล.ชอ,) ในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๔๙   ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระพิศาลพิพัฒนพิธาน