เกี่ยวกับวัด
สถานภาพและที่ตั้ง
วัดสังข์กระจาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐๔ ชอยเพชรเกษม ๔ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
มีการแบ่งเขตพุทธาวาสแยกจากเขตสังฆาวาสชัดเจน
อาณาเขต
วัดสังข์กระจายวรวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร่ ๑ งาน ๔o ตารางวา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับชอยวัดสังข์กระจาย
ทิศใต้ จดคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง)
ทิศตะวันออก จดปากคลองบางวัวทอง (คลองบางลำ-เจียกน้อย) และคลองบางกอกใหญ่ตอนเหนือ
ทิศตะวันตก จดคูน้ำสาธารณประโยชน์
วัดมีที่ธรณีสงฆ์ ๒ แห่ง ติดกับเขตวัด คือ ด้านหลังวัดมี เนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๒๔ ตารางวา และด้านข้างวัดมีเนื้อที่ ๓ งาน ๒๑ ตารางวา ซึ่งให้ประชาชนเช่าปลูกเป็นที่อยู่อาศัย
นอกจากนั้น ยังมีที่กัลปนาของวัด ที่ พ.ต.หลวงฤทธิ์-ณรงค์รอน และคุณหญิงพริ้งได้ถวายที่นาซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
มีเนื้อที่ประมาณ ๒,๖๔๕ ไร่ เพื่อเก็บผลประโยชน์มาบำรุงเสนาสนะในพระอาราม ต่อมาสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาขอที่ดินจำนวนดังกล่าว
เพื่อนำไปสงเคราะห์ผู้ที่ไม่มีที่ทำกิน และคงสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ของวัดไว้เพียง ๒๐ ไร่ เท่านั้น วัดมีที่ดินอีกแปลงหนึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
มีเนื้อที่ประมาณ ๗ ไร่ ๓ งาน ๕๒ ตารางวา เดิมเป็นของพระครูวิบูลธรรมรัตน์ (สะอาด นันทิโย) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาส ต่อมา ท่านได้มรณภาพในขณะดำรงเพศสมณะ
และมิได้ปลงบริขารไว้ ที่ดินแปลงนี้จึงตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจนถึงปัจจุบันนี้
วัดสังข์กระจายมีเขตโดยรอบ จากด้านตะวันออกวัดตามแนวเขื่อนริมคลองบางกอกใหญ่เป็นส่วนกว้างได้ 159.5 เมตร ด้านใต้จากคลองบางกอกใหญ่วัดตามแนวคูวัดถึงเขตหลังวัดยาว 332 เมตร ด้านเหนือถึงเขตหลังวัดยาว 332 เมตรเศษ ด้านเหนือจากคลองบางกอกใหญ่วัดยืนขึ้นไปตามริมฝั่งคลองบางวัวทองถึงเขตหลังวัดยาว 332 เมตร ด้านตัดเขตหลังวัดทิศตะวันตกกว้าง 195 เมตร เป็นเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา
ที่ธรณีสงฆ์ของวัด มีส่วนติดกับเขตวัดออกไปอีก 2 ขนัด ขนัดหลังเขตวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา ขนัดข้างเขตวัดตอนหลังมีเนื้อที่ 3 งาน 21 ตารางวา
เขตจำพรรษา ยกบริเวณที่ดินซึ่งได้ยุบเป็นบ้านเช่าเป็นอุปจารเสียแล้ว พระสงฆ์ต้องกำหนดเขตขึ้นใหม่เพื่ออยู่จำพรรษา ทิศตะวันออกมีคลองบางกอกใหญ่เป็นเครื่องกำหนดเขต ทิศใต้มีคูวัดเป็นเครื่องกำหนดเขต ทิศตะวันตกมีเขตจดถนนข้างวิหาร ทิศเหนือมีเขตจดคลองบางวัวทอง ภายในระยะพรรษา พระสงฆ์จะต้องรับอรุณภายในเขตที่กำหนดนี้
พระราชาคณะเจ้าอาวาสรูปแรก
พระราชาคณะรูปแรกที่ได้แต่งตั้งให้มาเป็นสมภาร ก็ได้แก่พระเทพมุนี (ด้วง)* ประวัติของท่านสุดสามารถจะหามาเรียบเรียงไว้ให้ละเอียดได้ เท่าที่ค้นพบในหนังสือต่าง ๆ ก็มีเพียงประปรายเท่านั้น ในพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขาได้ยืนยันว่าในปีขาล จัตวาศก ตรงกับ พ.ศ. 2325 ตรงกับปีสร้างกรุงเทพมหานครนั้น โปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระเทพโมลีวัดสังข์กระจายเป็นที่เทพมุนี แทนพระเทพมุนีองค์เดิมที่ถูกถอดไป** แสดงว่าวัดสังข์กระจายได้เป็นวัดที่ทรงความสำคัญซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงเอาพระทัยใส่อุปถัมภ์มาก่อนสมัยสร้างกรุงเทพฯ แล้ว
พระเทพมุนี วัดสังข์กระจาย เป็นปีที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้ที่คงแก่เรียนมีความรู้ความสามารถยิ่งองค์หนึ่ง จะเห็นได้ว่าในปี พ.ศ. 2332 คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขเด็จพระที่นั่งอมรินทราภิเศกมหาปราสาทติดเป็นเพลิงลุกไหม้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระแสงของ้าวเร่งข้าราชการดับเพลิงจนสงบแล้ว ทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอวมงคลนิมิตแก่บ้านเมืองเป็นแท้ พระราชาคณะที่เป็นปราชญ์มีความชำนาญทั้งพุทธศาสตร์และโลกศาสตร์ต่างได้ลงชื่อเข้าร่วมถวายไชยมงคลให้เบาพระทัยเป็นเอกฉันท์ร่วมกันว่า ไม่เป็นอวมงคลแต่อย่างใด หากจะเป็นความปราชัยบังเกิดแก่ศัตรูในภายหน้า*** ในพระราชวิจารณ์รัชกาลที่ 5 กล่าวรายนามพระสงฆ์ที่ถวายพระพรในครั้งนี้ว่า มีพระเทพมุนีวัดสังข์กระจายร่วมคณะอยู่ด้วยรูปหนึ่ง****
มีเค้าอยู่อีกตอนหนึ่งที่แสดงให้ทราบถึงว่า วัดสังข์กระจายในยุคแรก ๆ มีพระสงฆ์อาวุโสทรงพฤทธิภาพเป็นที่เคารพนับถือของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายองค์ จึงปรากฏว่าสมัยหนึ่งมีการสมโภชพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระสงฆ์ถูกอาราธนารับภัตตาหารเพล มีรายนามพระสงฆ์วัดสังข์กระจายทั้งสามรูป คือ พระเทพมุนี พระญาณโพธิ และอาจารย์อีกรูปหนึ่งไม่ออกนาม*
ในจดหมายเหตุสุบินนิมิต ก็ออกชื่อพระเทพมุนีและพระญาณโพธิว่า ได้อยู่ร่วมชุดพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทำนายสุบินนิมิตของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วย บอกว่าทรงสุบินปีชวดจัตวาศก จุลศักราช 1145 ตรงกับ พ.ศ.2335** การที่ท่านได้เข้าถวายไชยมงคลพยากรณ์อสุนีบาตก็ดีและทำนายสุบินนิมิตก็ดี ทั้งสองครั้งได้แสดงให้เห็นว่า ท่านต้องมีความชำนิชำนาญในเรื่องโหราศาสตร์อีกวิชาหนึ่งด้วย
ข้อที่น่าสังเกตคือ ในสมัยนี้ วัดสังข์กระจายมีพระราชาคณะถึง 2 รูป อีกรูปหนึ่งก็คือ พระญาณโพธิ แต่ก็มีชื่ออยู่แต่ในสมัยพระเทพมุนีเท่านั้น เพราะอันดับนามเจ้าอาวาสรูปที่ 2 แทนที่จะเป็นพระญาณโพธิ กลับเป็นพระครูมารวิชิตไป ฉะนั้น พระญาณโพธิจึงน่าจะลาสิกขาเสียมิฉะนั้นก็อาจย้ายสำนักหรือสิ้นอายุลงเสียอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน
พระเทพมุนีเจ้าอาวาสรูปแรกองค์นี้ จะเป็นชาวจังหวัดไหน ชาตะ มรณะ เมื่อ พ.ศ.ใด ยังสืบหาข้อมูลไม่ได้
การศึกษาและปริยัติธรรม
วัดสังข์กระจายวรวิหาร ได้เปิดอบรมพระนวกะในพรรษา ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. เ๒๔๙๘) เพื่อไม่ให้พระนวกะต้องไปศึกษาที่สำนักอื่น โดยจัดอบรมที่หอสวดมนต์เก่า คณะ ๓
โรงเรียนวัดสังข์กระจาย (แจ่ม วิชาสอน)
ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดด้านทิศใต้ เป็นโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดสอนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ ๖
อาคารส่วนหนึ่งเดิมเป็นบ้านของหลวงแจ่มวิชาสอนและภรรยา ต่อมาได้ถวายที่ดินให้เป็นสมบัติของวัด ส่วนอาคารยกให้กรมสามัญศึกษา
โรงเรียนแสงมณี
ตั้งอยู่ริมถนนตัดจากหน้าวัดไปพระวิหาร ตรงข้ามกับคณะ ๔ ปัจจุบันทางวัดมอบให้เอกชนตั้งเป็นโรงเรียนสอนเด็กชาย-หญิง ตั้งแต่อนุบาลและประถมศึกษา (ป.๑ ถึง ป.๖)